วัดไชยวัฒนาราม อยุธยา
วัดไชยวัฒนาราม อยุธยา เรามาดุประวัติความเป็นมาของ วัดไชยวัฒนาราม กัน วัดนี้มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกว่า วัดไชยยาราม หรืออีกชื่อว่า วัดไชยชนะทาราม เป็นวัดพระอารามหลวง ในสมัยโบราณ ซึ่งอยู่ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นในช่วงสมัยนั้น อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2173 แต่เดิมแล้ววัดแห่งนี้ ได้เคยเป็นบ้านพักของ พระราชมารดา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปก่อนแล้ว ก่อนที่พระเจ้าปราสาททองได้เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ขึ้น ภายหลังจากนั้น พระองค์เองก็ได้ขึ้นครองราชย์ และก็ได้สร้าง วัดไชยวัฒนาราม ขึ้นเพื่อที่จะอุทิศผลบุญนี้ ให้กับพระราชมารดาของพระองค์เอง
วัดแห่งนี้นั้น ได้กลายเป็นวัดหลวง ที่ใช้บำเพ็ญพระราชกุศล ของบรรดาพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยานั้น และก็ยังถูกใช้เป็นสถานที่ เพื่อถวายพระเพลิงศพ พระบรมวงศานุวงศ์ เกือบทุกพระองค์อีกด้วย ทำให้ วัดไชยวัฒนาราม มีเจ้าหน้าที่ดูแล และได้ปฏิสังขรณ์ ให้เป็นอย่างดีในสมัยนั้นเลย หลังจากที่ได้เสีย กรุงศรีอยุธยา เป็นครั้งที่สองนั้น
วัดแห่งนี้ได้ถูกปล่อยทิ้ง ให้ร้างเป็นเวลานาน แล้วก็ยังมีผู้ไม่หวังดี ได้เข้าไปลักลอบ เพื่อที่จะขุดหาสมบัติ กับเศียรพระพุทธรูป ขโมยตัดไป ยังมีการรื้ออิฐที่พระอุโบสถ รวมไปถึงรื้อกำแพงวัดไปขายอีกด้วย จนเมื่อปี พ.ศ. 2530 ได้มีหน่วยงานเข้าไปดูแล ซึ่งก็คือ กรมศิลปากร ได้ทำการอนุรักษ์ จนเสร็จ ถึงปี พ.ศ. 2535 และวัดแห่งนี้ ได้กลายเป็นสถานที่สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ตอนนั้นมาจนถึงปัจจุบัน
เป็นอีกหนึ่งวัดเก่าแก่อีกวัด ในสมัยอยุธยาตอนปลาย วัดไชยวัฒนาราม อยุธยา ได้ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสถาปัตยกรรมการ ที่ได้ก่อสร้างโดย ไม่เหมือนวัดอื่นๆ ในอยุธยา เพราะมีบางส่วนรับ อิทธิพลมาจากศิลปะของขอม โดยได้จำลองมาจาก ปราสาทนครวัดนั้นเอง โดยจะมี ปรางค์ประธาน และก็ปรางค์มุม ทที่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ในส่วนบริเวณตรงกลางของพื้นที่ และได้รายล้อมด้วยปรางค์บริวารอีก จำนวนสี่องค์
วัดไชยวัฒนาราม ได้มีปรางค์ประธาน และปรางค์มุม ที่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน และพระปรางค์ประธาน ได้นำรูปแบบของพระปรางค์สมัย อยุธยา ตอนต้นนำมาก่อสร้าง แต่ทางปรางค์ประธานที่ วัดไชยวัฒนาราม ได้ทำมุขทิศยื่นออกมามากกว่า ส่วนบนยอดองค์พระปรางค์ใหญ่ ได้ประดิษฐานพระเจดีย์ ที่มีขนาดเล็ก ซึ่งได้สื่อถึงพระเจดีย์จุฬามณี ที่อยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ วัดไชยวัฒนาราม อยุธยา กลายเป็นวัดหลวง ที่ได้มีการบำเพ็ญพระราชกุศลของ พระมหากษัตริย์ สืบต่อมาเรื่อยๆ ตั้งแต่บัดนั้นเกือบทุกพระองค์
และก็ได้รับการปฏิสังขรณ์ สืบๆ ต่อมาทุกช่วงรัชสมัย รวมยังเป็นสถานที่ เพื่อถวายพระเพลิงศพ ของพระบรมวงศานุวงศ์เกือบทุกพระองค์อีกด้วย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ถึงคราวสิ้นพระชนม์อายุ ก็ได้ถวายพระเพลิงที่วัดแห่งนี้
ลักษณะของปรางค์บริวารนั้น คือ จะเป็ปรางค์องค์เล็ก ลงมาที่อยู่รายล้อม และปรางค์ประธาน จะมีทั้งหมด 4 องค์
ปรางค์ประธานเมรุ ก็คือ อาคารทรงยอด มีแหลมที่อยู่รายรอบ ระเบียงคด ทั้ง 8 ทิศ และภายในคูหานั้น จะประดิษฐาน ด้วยพระพุทธรูป ทรงเครื่องปางมารวิชัย ซึ่งได้เอาไว้ที่เมรุทิศ เมรุละ 1 องค์ และ เมรุมุม เมรุละ 2 องค์ส่วนภายในคูหา ก็จะมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่ยังคงหลงเหลือ ร่องรอยอยู่เพียงเล็กน้อยนั้นเอง
ส่วนรอบพระปรางค์ใหญ่ ได้ล้อมรอบไปด้วยระเบียงคต ที่เดิมนั้นมีหลังคาอยู่ ส่วนภายในระเบียงคต ได้ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น เป็นปางมารวิชัย ที่ได้เคยลงรักปิดทอง เป็นจำนวนทั้งหมด 120 องค์ ถือได้ว่าเป็นเสมือนกำแพง กั้นเขตศักดิ์สิทธิ์เอาไว้ อยู่ตามแนวระเบียงคต ตรงทิศทั้งแปดนั้น ได้สร้างเมรุทิศ และเมรุมุม (เจดีย์รอบ ๆ พระปรางค์ใหญ่) เอาไว้
รายละเอียด ในการเข้าชม
ทางวัดได้เปิดให้เข้าชมทุกๆ วัน ตั้งแต่เวลา 08.30–16.30 น. ส่วนอัตราค่าเข้าชมนั้น ได้แบ่งเป็น 2 ราคา ก็คือ ชาวไทย 10 บาท และ ชาวต่างประเทศ 50 บาท
หรือว่า สามารถที่ซื้อบัตร เข้าชมแบบเหมารวมเลย ราคาก็จะคุ้มกว่า ก็คือ ชาวไทย 40 บาท ชาวต่างชาติ 220 บาท โดยบัตรเหมานี้ สามารถที่จะเข้าชมวัด และส่วนบริเวณ อุทยานประวัติศาสตร์ ในส่วนที่เป็น โบราณสถานบริเวณได้ สามารถเก็บบัตร ได้ระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน
ติมตามข่าวสาร และสถานที่อื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ พาไปไหนดี
หรือ Papainaidii ที่นี้