วัดโพธิ์ หรือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตั้งอยู่ข้างพระบรมมหาราชวัง ที่ถนนสนามไชย ก่อนหน้านี้เป็นวัดโบราญที่ชื่อว่า โพธาราม ถือว่าเป็นวัดที่เก่าแก่ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 สร้างขึ้นในสมัยนั้นเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ไว้เล่าเรียนพระปฎิบัติธรรม สันนิษฐานเอาไว้ว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ช่วงราชกาลสมเด็จพระเพทราชา และเป็นที่ประดิษฐานต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ได้มาจากลังกา เลยเป็นที่รู้จักกันโดยชื่อว่า วัดโพธิ์ หลังจากนั้นรัชกาลที่ 1 ได้ทรงย้ายพระนครมาอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทางฝั่งตะวันออก พระองค์ทรงได้โปรดเกล้าให้บูรณะวัดให้สมบูรณ์และงดงามมากขึ้น พร้อมกับพระราชทานนามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ”
ต่อมาในช่วงรัชกาลที่ 4 พระองค์ได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” แต่ว่าคนไทยก็ได้เรียกกันมายาวนานว่า “วัดโพธ์” แต่คนทั่วไปเรียกขานกันเรื่อยมาว่า วัดโพธิ์ หากนับความเก่าแก่ของวัดตั้งแต่ก่อนได้รับการสถาปนาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันนี้ก็มีอายุมากกว่า 300 ปีแล้ว
วัดโพธิ์ หรือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์ เป็นศูนย์รวม ของความรู้ด้านการแพทย์โบราณ และยังมากด้วยตำรา, สถาปัตยกรรม, ประติมากรรม วรรณคดี ,ตำรายา ที่ถือได้ว่ามีประโยชน์มากต่อชนรุ่นหลัง และที่ลืมไม่ได้ว่า วัดโพธิ์ นั้น เป็นจุดเริ่มต้นของ วรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมสมเด็จ พระปรมานุชิตชิโนรส เมื่อพระองค์ทรงผนวช อยู่ที่วัดนี้เปิดให้เข้าชม
1.. วัดโพธิ์ ที่ใครๆนึกถึงเป็นอย่างแรกคือ ยักษ์วัดโพธิ์ หรือยักษ์ที่ยืนเฝ้าที่ซุ้มประตูหน้าวัดทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 1 คู่ เพื่อที่จะพิทักษ์หอไตรปิฎกไว้ ที่มีขนาดเท่าคน ความสูง 175 ซ.ม. โดยประมาณและมีจำนวณประมาณ 8 ตน ลักษณะคล้ายยักษ์ในวรรณกรรมคดีของไทยเรื่อง รามเกียรติ์ ที่ตั้งอยู่ในซุ้มหน้าประตูทางเข้าพระมณฑป แต่ช่วงสมัยราชกาลที่ 4 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อซุ้มประตูออกไป 2 ซุ้ม เมื่อครั้งที่สร้างพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาล และปัจจุบันเหลือยักษ์เพียงแค่ 2 ซุ้มเท่านั้น
2.. พระพุทธไสยาส หรือที่เรียกว่า พระนอนวัดโพธิ์ เป็นพระพุทธรูปที่ได้ยกย่องว่าเป็นพระนอนที่องค์ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และองค์ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทยด้วย โดยมีลักษณะพิเศษคือ การประดับมุกที่ฝ่าพระบาท ได้เชื่อในคติความในคัมภีร์ชินาลังการฎีกาของสีลังกา ซึ่งมีการประดับมุกภาพมงคลไว้ 108 ประการ จึงเป็นที่สักการะอย่างมากของชาวไทยและชาวต่างประเทศ เชื่อกันว่าใครที่ได้มากราบไหว้จะมีชีวิตมที่ ร่มเย็นเป็นสุข ในด้านของฝาผนังนั้นได้มีจิตกรรมที่แสงวิถีชีวิตของชาวไทยสมัยก่อนเอาไว้ด้วย
3..มหาเจดีย์ สี่รัชกาล เป็นมหาเจดีย์ที่มีขาดใหญ่ทั้ง 4 องค์ องค์พระมหาเจดีย์นั้นเป็นแบบย่อไม้สิบสองที่ประดับประดาด้วยกระเบื้องเคลือบ ทั้งพระมหาเจดีย์ทั้ง 4 เป็นเจดีย์ประจำราชกาลตั้งแต่ 1-4 ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ตามแบบของพระเจดีย์ศรีสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
4.. ศาลาการเปรียญ ในส่วนของภายในมี “พระพุทธศาสดา” ประดิษฐานเป็นพระประธานแต่เดิมเป็นพระอุโบสถของวัดตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ในภายหลังได้มีการสถาปนาพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดขึ้นแล้ว จึงได้ลดฐานะกลายมาเป็นเป็นศาลาการเปรียญแทน
5.. พระอุโบสถ ภายในพระอุโบสถนั้น ได้มีการประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งช่วงรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า ด้วยประสงค์ตั้งมั่นแน่วแน่ว่า นี่จะเป็นพระนครอย่างถาวร (ปางสมาธิ ได้สื่อถึงการตั้งจิตมั่นแน่วแน่) และที่ฐานชุกชีก่อไว้ 3 ชั้น ชั้นที่ 1 ได้บรรจุพระบรมอัฐิและพระราชสรีรังคารของรัชกาลที่ 1 ไว้ ส่วนชั้นที่ 2 ประดิษฐานรูปพระอัครสาวกทั้งสององค์ฐานชุกชี และชั้นล่างสุดได้ประดิษฐาน พระมหาสาวก 8 องค์ (พระอรหันต์ 8 ทิศ)
6.. พระวิหารทิศทั้ง 4 ทิศ พระวิหารทิศนั้นได้มีการอัญเชิญพระพุทธรูปที่สำคัญจากหัวเมืองต่างๆ เอามาประดิษฐานไว้ โดยแบ่งออกเป็น 2 มุข คือ มุขหน้าและมุขหลัง โดยมุกหน้านั้นคือ มุขที่หันสู่ทิศต่างๆ และส่วนมุขหลัง คือ มุขที่หัวหน้าเข้าสู่พระอุโบสถ
พระวิหารแบ่งออกออกเป็น 4 ทิศได้แก่
- มุขหน้า ทิศตะวันออก คือ พระพุทธมารวิชัยอภัยปรปักษ์
- มุขหลัง ทิศตะวันออก คือ พระพุทธโลกนาถ ประดิษฐานที่พระวิหาร
- ทิศตะวันตก คือ พระพุทธชินศรีมุนีนาถ
- ทิศเหนือ คือ พระพุทธปาลิไลย
- ทิศใต้ คือ พระพุทธชินราชวโรวาทธรรมจักร
7.. จารึกวัดโพธิ์ มรดกโลกของวัดโพธิ์ ช่วงราชกาลที่ 3 พระองค์ทรงได้ให้นำองค์ความรู้จากปราชญ์ของไทย อย่างเช่น ตำราการแพทย์ โบราณคดี วรรณกรรม กาพย์ โคลง กลอน ฯลฯ ได้เอามาจารึกไว้บนหินอ่อนที่ได้ประดับไว้ตามบริเวณผนังภายในวัดซึ่งความรู้ที่จารึกไว้บนแผ่นศิลานั้น สมัยปัจจุบันได้เรียกว่า ประชุมจารึกวัด พระเชตุพน องค์การยูเนสโกได้มีมติรับรองขึ้นทะเบียนศิลาจารึกพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ให้เป็นเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก
8.. รูปปั้น ฤาษีดัดตนต้นตำหรับการนวดแผนไทย ในช่วงสมัยราชกาลที่ 1 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณและศิลปะทางวิทยาการของกรุงศรีอยุธยาไว้ พระองค์ทรงพระราชดำริให้นำเอาท่าดัดตนอันเป็นการพักผ่อนและการแก้เมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย แล้วเอามาประยุกต์กับคติไทย ที่ได้ยกย่องฤาษีเป็นครูผู้ที่มีประสิทธิ์ประสาทกับวิทยาการต่างๆ แล้วก็ได้ปั้นฤาษีดัดตนในท่าต่างๆไว้ กระทั้งต่อมาช่วงราชกาลที่ 3 ได้มีการหล่อรูปปั้นฤาษีดัดตนไว้ทั้งหมด 80 ท่าด้วยกัน โดยการปั้นนั้นไม่ได้ใช้ดินเพราะดินได้มีการเสื่อมสภาพง่าย แต่ได้ใช้ สังกะสีและดีบุกแทน และทั้ง 80 ตนได้มีโครงสี่สุภาพบรรยายสรรพคุณของท่าต่างๆของฤาษีดัดตนไว้ 80 บทด้วย แต่ในปัจจุบันรูปปั้นฤาษีดัดตนเหลือเพียง 24 ท่าเท่านั้น เพราะมีการเคลื่อนย้ายรูปปั้นและมีส่วนที่หายไปได้ถูกลักรอบนำไปขาย
9.. ลั่นถัน เป็นตุ๊กตาจีนอีกเอกลักษณ์เด่นของวัดโพธิ์ ในช่วงสมัย รัชกาลที่ 3 ที่ช่วงนั้นการค้าสำเภารุ่งเรืองมาก พระองค์ทรงพระราชนิยมใช้ในศิลปกรรมจีน จึงได้ทรงสั่งตุ๊กตาศิลาจีน และรูปจำหลักหินแบบต่างๆของจีนเป็นจำนวนมาก เพื่อนำมาประดับตกแต่งตามวัดที่ทรงสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ รูปแบบสถาปัตยกรรมนี้ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะจากจีน เรียกว่า “ศิลปะแบบพระราชนิยม”
10.. เขามอ หรือ สวนหย่อม เป็นสวนหินที่ปลุกไม้ประดับในช่วง รัชกาลที่ 2 พระองค์ได้ทรงก้อนศิลาไว้เป็นภูเขาเป็นส่วนประดับไว้รอบวัด มีการปลูกต้นไม้ไว้ตามเชิงเขามีทั้งสถูป เสาโคมแบบจีน รูปตุ๊กตาจีนและรูปสัตว์สี่เท้าต่างๆ เรียงรายอยู่ทั่วเขา ต่อมา รัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อและขนก้อนหินศิลาใหญ่และเล็ก ที่ก่อในสวนขวาในบริเวรพระบรมมหาราชวังออกเหลือไว้เพียงบางส่วน พรรณไม้ที่ได้ปลูกประดับไว้ส่วนใหญ่แล้วได้ตายลง ทางวัดเลยได้มีการปรับปรุงเป็นสวนหิน และได้ประดับด้วยไม้ใบกับไม้ดอก ซึ่งทำให้เป็นมุมที่เอาไว้นั่งพักผ่อนนั้นเอง