วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่คนไทยเราเรียกกันว่า วัดพระแก้ว ตั้งอยู่บริเวณพระบรมมหาราชวัง ถนน หน้าพระลาน แขวง พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. มีความโด่งดังจากพระแก้วมรกต ประเภทพระอารามหลวงชั้นพิเศษ มีพระประธานเป็นพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ “พระแก้วมรกต” นั้นเอง
วัดแก้วมรกต เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2325 พร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเช่นเดียวกับวัดในพระมหาราชวังหลวงในสมัยอยุทธยา ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดรามถือว่ามีอาคารสำคัญ และอาคารประกอบจำนวนมาก กลุ่มพระอุโบสถ กลุ่มอาคารประกอบและพิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดพระแก้ว
กลุ่มพระอุโบสถ
พระอุโบสถ
ตั้งอยู่ที่ส่วนใต้ของวัด มีกำแพงแก้วล้อมรอบ และมีซุ้มประดิษฐานเสมารวมอยู่ 8 ซุ้ม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2325 เสร็จในปี พ.ศ. 2327 นั้นเอง
ศาลาราย
ศาลาราย เป็นศาลาโถงไม่มีฝา ตั้งอยู่รายรอบพระอุโบสถ ศาลารายทั้ง 12 หลังนี้มีลักษณะเหมือนกัน ทั้งขนาด รูปร่าง ส่วนสูง เป็นศาลาโถงขนาด 2 ห้อง มีหลังคาเป็นทรงไทยที่มุงด้วยกระเบื้องดินเผาสีเคลือบสี หน้าบันไดเป็นพระรูปเทพนมปิดทองบนพื้นกระจกสีขาว และประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์และนาคสะดุ้ง
หอราชกรมานุและหอพงศานุสร
สร้างขึ้นในช่วงสมัยราชกาลที่ 4 ตั้งอยู่บริเวณบนกำแพงแก้ว ด้านหลังพระอุโบสถทางทิศเหนือนั้นเอง ในด้านในจะประดิษฐานด้วยพระพุทธรูปประจำราชกาลต่างๆ
พระโพธิธาตุพิมาน
ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระปรางค์ของโบราญนั้นเอง ทรงได้อัญเชิญมาจากเมืองเหนือขณะผนวช ภายในพระปรางค์นั้นประดิษฐานด้วยพระบรมสาสรีริกธาตุและบรรจุพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา
หอระฆัง
หอระฆัง นี้ตั้งอยู่บริเวรข้างกำแพงแก้วด้านข้างพระอุโบสถ ด้านทิศใต้มีลักษณะที่เป็นบุษบกตั้งอยู่บนฐานทักษิณแบบปรางค์ ย่อมุมไม้สิบสิง ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ ภายในอาคารนั้นยังมีบันไดขึ้นไปสู่บุษบกอันประดิษฐานระฆัง และปัจจุนั้นไม่ได้มีการย่ำระฆังนี้แล้ว
หอพระคันธารราษฎร์และมณฑป
ตั้งอยู่บริเวรมุมพระระเบียงด้านตะวันออกเฉียงใต้ อาคารเป็นทรงจตุมุขยอดปรางค์เป็นแบบรัตนโกสินทร์
กลุ่มฐานไพที
คือ พื้นลานด้านเหนือของพระอุโบสถก่อฐานไพทีน ซึ่งฐานยกพื้นขนาดใหญ่ รองรับปูชนียสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญ
พระศรีรัตนเจดีย์
ตั้งอยู่บนฐานไพทีด้านทิศตะวันตก ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงลังกา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2398 ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมณฑป
พระมณฑป ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2332 ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงตำแหน่งที่ตั้งของหอพระมณเฑียรองค์เดิมที่ถูกเพลิงไหม้เพื่อที่จะประดิษฐาน สร้างขึ้นตามคติเขาพระสุเมรุ ส่วนยอดมณฑป 7 ชั้นซ้อน
ปราสาทพระเทพบิดร
ปราสาทพระเทพบิดา ซึ่งตั้งอยู่บริเวรบนฐานไพทีด้านทิศตะวันออก ได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2398 ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงได้พระราชทานนามว่า พระพุทธปรางค์ปราสาท
พระสุวรรณเจดีย์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น และมีความประสงค์เพื่ออุทิศถวายสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกและพระราชมารดานั้นเอง
พนมหมาก
พนมหมาก ได้ก่อสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อที่จะถวายเป็นพระพุทธบูชา พนมหมากให้เป็นเครื่องตกแต่งฐานไพทีตรงส่วนย่อมุมด้านทิศตะวันออก และตะวันตกนั้นเอง รวมทั้งสิ้น 18 พุ่ม
พระเจดีย์ทรงเครื่อง
พระเจดีย์ทรงเครื่อง 4 องค์ จะมีลักษณะเป็นพระเจดีย์ที่ก่ออิฐฉาบปูน และทรงเครื่องย่อมุมไม้สิบสอง ได้ตั้งอยู่บนฐานสิงห์ 3 ชั้น และฉาบปูนทาสีขาว มีฐานบัวหงายรอบรับองค์พระเจดีย์ ซึ่งได้ปิดทองประดับกระจก ตอนบนเป็นบัวกลุ่ม 7 ชั้น และเหนือบัวกลุ่มเป็นปลีมีลูกแก้วคั่นถึงเม็ดน้ำค้างประดับกระจกด้วย
นครวัดจำลอง
ตั้งอยู่บนฐานไพที ทางด้านเหนือตรงข้ามกับพระมณฑป เพื่อจะให้คนทั้งหลายเห็นว่าเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ ทำด้วยศิลาทั้งสิ้น
พระบุษบก
ตั้งอยู่บริเวรรอบพระมณฑปทั้ง 4 มุม ได้สร้างด้วยโลหะลงรักปิดทองประดับกระจก รอบบุษบกนั้นประดับด้วยฉัตร 7 ชั้น และ 5 ชั้น และมีรูปช้างยืนแท่นหล่อด้วยโลหะรมดำ
รูปสัตว์หิมพานต์
รูปสัตว์หิมพานต์ชนิดแรก คือ สิงห์ 12 ตัว ปัจจุบันนั้นย้ายไปตั้งอยู่รอบพระอุโบสถ และนาคที่ พลสิงห์บันไดชั้นทักษิณเดิมมี 6 คู่ แต่บัดนี้เป็นพลสิงห์บันไดปราสาทพระเทพบิดร และสัตว์หิมพานต์เท่าที่ตั้งประดับบนลานทักษิณ ในปัจจุบันได้มีเทพปักษี เทพนรสิงห์ อัปสรสีห์ กินนร อสุรปักษี สิงหาพานร และอสุรวายุภักษ์ เหลืออย่างละคู่ รูปสัตว์หิมพานต์เหล่านี้ได้หล่อโลหะปิดทองประดับที่กระจก ได้ยืนบนแท่นหินอ่อนสีเทาเข้ม
กลุ่มอาคารประกอบ
กลุ่มอาคารประกอบ และสิ่งประดับอื่นๆนั้น ที่นอกเหนือจากทั้งสองกลุ่มอาคารนี้ ประกอบไปด้วย พระอัษฎามหาเจดีย์ พระวิหารยอด หอพระมณเฑียรธรรม พระระเบียง และพิพิธภัณฑ์วัดศรีรัตนศาสดาราม ได้มีจิตรกรรมฝาผนังไว้ที่พระระเบียง โดยมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังไว้ทั้งหมด 178 ห้องด้วยกัน และเรียงต่อกันยาวไปสุดฝาผนังทั้ง 4 ทิศ โดยมีเนื้อหามาจากวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์
พิกัด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
ติดตามต่อได้อีกช่องทางที่นี้ พาไปไหนดี จ้าาาา